ผู้สอนภาษาอังกฤษ
ประเด็นที่ได้ถูกกล่าวถึงเกี่ยวกับผู้สอนภาษาอังกฤษโดยเฉพาะอย่างยิ่งอาจารย์ผู้สอนภาษาอังกฤษในภูมิภาคอาเซียน มีอยู่ 3 ประเด็นคือ
1. คุณสมบัติของผู้สอน
2. การพัฒนาศักยภาพอาจารย์
3. การสนับสนุนการทำวิจัย
คุณสมบัติของผู้สอน
วิทยากรและ keynote speakers หลายท่านให้ความคิดเห็นว่าในการสอนภาษาอังกฤษของประเทศที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่นั้น ผู้สอนควรจะเป็นคนที่พูดหรือเรียนภาษาที่สองด้วย เพราะเขาจะรู้และเข้าใจการสอนภาษาได้ง่าย และลึกซึ้งมากกว่าผู้ที่พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ เพราะการสื่อสารส่วนใหญ่ในภูมิภาคนี้ต่อไปจะเกิดขึ้นระหว่างผู้ที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกันมากกว่า เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสาร
นอกจากนี้ผู้สอนควรมีความรู้ภาษาศาสตร์และการสอนควบคู่กันไปเพื่อที่จะได้ช่วยในการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และที่สำคัญคือการมีจิตสำนึกในการเป็นผู้สอน มีความคิดเป็นบวก ควบคุมอารมณ์ให้ได้ และคิดว่าผู้เรียนเปรียบเสมือนผู้ใหญ่คนหนึ่ง
การพัฒนาศักยภาพอาจารย์
ทั้ง Prof.Dr. Quifang Wen, Prof.Dr. Lui และท่านอื่นๆ ก็ได้สนับสนุนโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพอาจารย์ เพราะถือว่าสำคัญอย่างมากที่จะช่วยเพิ่มศักยภาพผู้สอนให้สามารถสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น ในประเทศจีน มหาวิทยาลัยและสถานศึกษาหลายๆ ที่ได้ส่งอาจารย์เข้าร่วมโครงการพัฒนาศักยภาพอาจารย์สอนภาษาอังกฤษ หลักสูตรเข้มข้น ถึงการเตรียมตัวสอน แผนการสอน และวิธีการสอน ซึ่งจัดโดยรัฐบาลให้อาจารย์ได้เข้าร่วมทุกๆ หน้าร้อน หรือแม้แต่การส่งเสริมให้อาจารย์ได้เข้าร่วมโครงการหรือสร้างเครือข่ายเพื่อแลกเปลี่ยนการสอนยังต่างประเทศ และมี community ให้กับอาจารย์ได้ retain ศักยภาพในการใช้ภาษาอังกฤษ
การสนับสนุนการทำวิจัย
Prof.Dr. Jun Lui ได้แนะนำบทความงานวิจัยเพื่อนำเสนอและตีพิมพ์ที่จะให้ได้ประสิทธิภาพและได้รับการตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ เพราะว่าปัจจุบันนี้ปัญหาใหญ่ของนักวิจัย อาจารย์ในภูมิภาคอาเซียนมีปัญหาในการส่งผลงานตีพิมพ์แล้วถูกปฎิเสธ เนื่องจากการความบกพร่องในส่วนของ ปัญหาการเขียน การวิเคราะห์และสังเคราะห์ Literature Review คำถามการวิจัย ความน่าสนใจและ update ในสิ่งที่เขียน สไตล์ที่เขียน ผู้เขียนยังแนะนำว่าเราควรที่จะเริ่มเขียนตั้งแต่เนิ่นๆ และหาเวลาเขียนอยู่บ่อยๆ เพราะไม่เช่นนั้น momentum จะขาดหาย ในการที่จะเขียนโดยมีองค์ประกอบคือ
• โดยการเขียนเริ่มจากสิ่งที่สนใจและสิ่งที่เรามีความรู้ดีและสามารถทำได้
• พิจารณาว่าหัวข้อที่จะเขียนเป็น research based หรือไม่
• พิจารณาว่าใครจะได้รับประโยชน์จากบทความบ้าง
• ต้องทราบว่าขั้นตอนการทำ และขั้นตอนการเสนองานเขียนต่อสำนักพิมพ์เพื่อรอการตีพิมพ์
2. องค์ความรู้ที่เพิ่มขึ้นจากการอบรม/สัมมนา
1) แนวโน้มการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในภูมิภาค ASEAN
2) ทักษะที่ควรส่งเสริมเพิ่มเติมในห้องเรียนนอกเหนือจากทักษะภาษาอังกฤษ
3) โปรแกรมการพัฒนาศักยภาพอาจารย์ผู้สอนภาษาอังกฤษ
4) เทคนิคการสอนในชั้นเรียน วิธีการใช้สื่อการสอน ICT มาใช้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นในการเรียน การสอน
5) การทำงานวิจัยและการเขียนบทความเพื่อตีพิมพ์
3. การนำความรู้ที่ได้จากการอบรม/สัมมนามาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน
1) สอดแทรกทักษะชีวิต (Life Skills) ในการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะด้านอื่นๆ ที่สำคัญต่อการเรียนรู้และส่งเสริมการเรียนภาษาอังกฤษ
2) พัฒนาการใช้เทคนิคการสอนของตัวเองและใช้ ICT ในการสอดแทรกเพื่อเป็นตัวช่วยในการเรียนการสอนในชั้นเรียน
3) พัฒนาและนำวิธีการสอนใหม่ๆ และทัศนคติใหม่ๆ ในการสอน จากผู้นำเสนอผลงานในการสอนภาษาอังกฤษมาใช้ในการเรียนการสอน
4. ข้อคิดเห็นจากการอบรม/สัมมนาที่เป็นประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัย
1)ควรจะจัดให้มีฝ่ายที่พัฒนาการเรียนการสอนและภาษาให้กับอาจารย์ผู้สอนภาษาทั้งในและนอกหน่อยงานในศูนย์ภาษาของมหาวิทยาลัย
2) ควรจะจัดให้มีฝ่ายที่จัดกิจกรรมพิเศษโดยเฉพาะให้กับนักศึกษาทั้งมหาวิทยาลัยที่สนใจ เพื่อได้ให้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ซึ่งจะก่อให้เกิดความสนใจ สนุก กับการเรียนรู้นอกห้องเรียน
3) จัดอบรมและเตรียมความพร้อมให้กับอาจารย์ที่สอนภาษาอังกฤษในเรื่องของความสามารถ retain ศักยภาพใช้ภาษาอังกฤษ พัฒนาความรู้ทางด้านภาษศาสตร์ พัฒนาความรู้ทางด้านการสอน วิธีการสอน เพื่อให้อาจารย์ตามทันกับการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันกับความต้องการของตลาดต่อการรับบัณฑิตใหม่เข้าทำงาน
Sunday, January 30, 2011
International Conference organized by EIL (ภาค2)
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment