Saturday, May 14, 2011

Study: It's not teacher, but method that matters--Yahoo! News

By SETH BORENSTEIN, AP Science Writer Seth Borenstein, Ap Science Writer – Thu May 12, 3:42 pm ET
WASHINGTON – Who's better at teaching difficult physics to a class of more than 250 college students: the highly rated veteran professor using time-tested lecturing, or the inexperienced graduate students interacting with kids via devices that look like TV remotes? The answer could rattle ivy on college walls.

A study by a Nobel Prize-winning physicist, now a science adviser to President Barack Obama, suggests that how you teach is more important than who does the teaching.

He found that in nearly identical classes, Canadian college students learned a lot more from teaching assistants using interactive tools than they did from a veteran professor giving a traditional lecture. The students who had to engage interactively using the TV remote-like devices scored about twice as high on a test compared to those who heard the normal lecture, according to a study published Thursday in the journal Science.

The interactive method had almost no lecturing. It involved short, small-group discussions, in-class "clicker" quizzes, demonstrations and question-answer sessions. The teachers got real-time graphic feedback on what the students were learning and what they weren't getting.
For more detail, click the link below!
http://news.yahoo.com/s/ap/20110512/ap_on_sc/us_sci_teacher_or_tools

Monday, May 2, 2011

สรุปเนื้อหาจากการประชุมเชิงปฏิบัติการระดมความคิดเกี่ยวกับแนวทางการจัดหาครูชาวต่างชาติเพื่อการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ

การประชุมเชิงปฏิบัติการระดมความคิดเกี่ยวกับแนวทางการจัดหาครูชาวต่างชาติเพื่อการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ จัดโดยกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงศึกษาธิการ วันที่ 22 เมษายน 2554

สรุปเนื้อหาจากการประชุมเชิงปฏิบัติการ :
การประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อใช้ข้อมูลที่ได้จากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์ในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อประกอบการยกร่างยุทธศาสตร์การพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา โดยยุทธศาสตร์ดังกล่าวประกอบไปด้วยหลายโครงการ โดยโครงการที่จะนำเสนอเพื่อการยกร่างครั้งนี้นั้นคือ โครงการจัดหาครูเจ้าของภาษาเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในการเตรียมความพร้อมประเทศเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ทั้งนี้โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักที่สำคัญดังนี้คือ

วัตถุประสงค์1.เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในการจัดการศึกษาระดับต่างๆ และแก้ปัญหาขาดแคลนครู
2.เพื่อส่งเสริมการพัฒนาความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียน/นักศึกษาในสถานศึกษา
3.เพื่อส่งเสริมการพัฒนาความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษและเทคนิคการจัดการเรียนการสอนของครูสอนภาษาอังกฤษในสถานศึกษา
4.เพื่อส่งเสริมและพัฒนาความเข้มแข็งของสถานศึกษาและเครือข่ายการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในพื้นที่

เป้าหมายการพัฒนา (ภายในปี 2558)
1.นักเรียน/นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาทุกระดับมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้น
2.นักเรียนที่สำเร็จการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ตามจุดเน้นที่กำหนด
3.ครูภาษาอังกฤษในพื้นที่มีระดับความรู้ด้านภาษาอังกฤษและเทคนิคการจัดการเรียนการสอนดีขึ้น
4.โรงเรียนและศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ (ERIC) และศูนย์เครือข่าย ERIC Network สามารถจัดการเรียนการสอนและการพัฒนาครูภาษาอังกฤษตามภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
5.กระทรวงศึกษาธิการมีหน่วยงานดูแลรับผิดชอบการดำเนินงานจัดหาครูเจ้าของภาษาที่เป็นระบบ

โครงการนี้เมื่อผ่านการยกร่าง และได้รับอนุมัติงบประมาณที่มีกว่า 1,590,000,000 บาท (รวมงบกลางและงบประจำปี 2555-2558) แล้วจะได้มีการจัดโครงการอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการสรรหาครูต่างชาติเพื่อไปปฏิบัติงานในหน่วยงานที่จำเป็นต่อไป โดยหน่วยงานเป้าหมายที่จัดครูชาวต่างชาติเข้าปฏิบัติงานนั้นประกอบไปด้วย โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ได้รับอาจารย์ต่างชาติมากสุด) ศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนภาษอังกฤษ สถาบันภาษาอังกฤษ สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และสถาบันอุดมศึกษา

สิ่งที่ได้รับจากการเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ :
ในแต่ละหัวข้อจะมี panel ในการสนทนา โดย panel เป็นผู้มีความรู้และประสบการณ์ทางด้านการศึกษา การเรียนการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างชาติและภาษาที่สอง องค์กรระหว่างประเทศ (Peace Corp, Fulbright) สถานทูตจากต่างประเทศ อาทิเช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย โดยสาระสำคัญในแต่ละหัวข้อย่อยสามารถสรุปได้ดังนี้คือ

1.General Experiences of Teaching English Language in Thailand
-การสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทยที่จะทำให้นักเรียนและนักศึกษาไทยสามารติดต่อสื่อสารภาษาอังกฤษในระดับใช้งานได้และสามารถที่จะช่วยให้เกิดสัมฤทธิผลในการเรียนภาษาอังกฤษ โดยมีครูผู้สอนที่เป็นชาวต่างชาตินั้นค่อนข้างยาก เพราะเนื่องจากว่าปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นคือผู้เรียนไม่ค่อยเห็นความสำคัญของภาษาอังกฤษ ไม่ได้มีโอกาสได้ฝึกและใช้ภาษานอกห้องเรียน
-อาจารย์ผู้สอนมีภาระหน้าที่อื่นๆ นอกเหนือจากงานสอนจึงทำให้ไม่มีเวลาสอน และเตรียมตัวสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยในขณะเดียวกันผู้เรียนมีความคิดที่ว่าภาษาอังกฤษเป็นวิชาเรียนหนึ่งเหมือนกันกับวิชาอื่นๆ ที่ต้องเรียน แต่ไม่ได้ เล็งเห็นความสำคัญที่ว่าภาษาเป็นทักษะที่จำเป็นต่อการใช้งานในชีวิตประจำวันที่ควรจะฝึกฝนจนเกิดความชำนาญ
-ตัวแทนจาก International School Association ได้เล่าประสบการณ์การเรียนการสอนที่ประสบความสำเร็จคือ การเน้นให้นักเรียนที่เป็นคนไทยเข้าเรียนในโปรแกรม International ได้มีการเข้าใจและเรียนรู้ภาษาไทยไปพร้อมๆ กันกับภาษาอังกฤษ เพื่อที่ภาษาแม่คือภาษาไทยได้ช่วยในการเรียนและเข้าใจภาษาอังกฤษได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้การจัดให้มีการร่วมมือการสอน (Collaborative Teaching) ระหว่างครูสอนภาษาอังกฤษและครูสอนรายวิชาอื่นๆ ทำให้การเรียนการสอนมี ประสิทธิผลขึ้น
2.Appropriate English Teaching Modality, Methodology and Curriculum for Thailand
จากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ระหว่างผู้เข้าร่วมการประชุม ส่วนมากเห็นเหมือนกันดังนี้
-การสอนที่มีครูผู้สอนภาษาอังกฤษที่เป็นเจ้าของภาษาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาทักษะการสื่อสารนั้น จำเป็นที่จะต้องมีการวัดผลและประเมินผลที่สอดคล้องกัน เช่นถ้าเน้นการพูด การวัดผลประเมินผลก็ต้องออกแบบมาเพื่อวัดทักษะการพูด
-นอกจากนี้การสอนแบบ Collaborative teaching approach เป็นสิ่งที่สำคัญที่ควรให้ครูผู้สอนคนไทยและครูสอนชาวต่างชาติ ร่วมมือกันสอน (Co-teaching) แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน เพื่อที่ครูคนไทยได้เรียนรู้ พัฒนาทักษะการสอน และสามารถนำมาช่วยในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษให้ยั่งยืนยิ่งขึ้น
-ตัวแทนจากนิวซีแลนด์เสนอให้มีการจัด course for readiness for ASEAN community
3.Possible Target Groups to Provide English Teachers
ครูสอนภาษาอังกฤษที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย คือ นักศึกษาที่กำลังศึกษาทางด้านการสอน ที่สนใจมาฝึกงาน นักศึกษาจบใหม่ทางด้านการสอนและมี Teaching certificate ที่ต้องการหางานสอนต่างประเทศ ผู้สอนชาวต่างชาติที่เกษียณอายุแล้วและมีประสบการณ์การสอน โดยจะมีการคัดเลือกสถานศึกษาระดับต่างๆ ที่มีความต้องการครูผู้สอนมากที่สุด ในทุกภูมิภาคของประเทศ
4.Qualification Recruitment Process and the Management System
ในที่ประชุมส่วนใหญ่ให้ความเห็นตรงกันว่าควรมีระบบการจัดการให้รอบคอบเพื่อไม่ให้เกิดการสูญเปล่า โดยมีประเด็นที่น่าสนใจคือ
-ควรส่งเสริมและจัดให้มี Orientation ที่มีคุณภาพเพื่อสร้างความเข้าใจในระบบการเรียนการสอนของประเทศไทยให้กับครูผู้สอนชาวต่างชาติ ควรใช้ประโยชน์ครูผู้สอนที่มีประสบการณ์เหล่านั้นให้สูงสุดโดยการจัดการอบรมการสอนโดยครูชาวต่างชาติให้กับครูคนไทย เพื่อที่จะสร้างให้เกิดการเรียนการสอนอย่างยั่งยืน เพราะมีความเชื่อเหมือนกันที่ว่าไม่มีใครที่จะสามารถสอนภาษาอังกฤษซึ่งไม่ได้เป็นภาษาแม่ได้ดีที่สุดให้กับนักเรียน/นักศึกษาไทยได้ดีและเหมาะสมที่สุดได้เท่ากับผู้สอนที่เป็นคนไทย
-การส่งเสริมและจัดให้มีการพัฒนาศักยภาพครูผู้สอนภาษาอังกฤษ (Professional Development) เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด โดยทั้งนี้มีการจัดให้ครูผู้สอนที่มีทักษะการสอนที่ดีและความรู้ที่ดีช่วยอบรม สอนครูผู้สอนที่ยังต้องการการพัฒนาในด้านความรู้ทักษะการสื่อสารและทักษะอื่นๆ และที่สำคัญคือการส่งเสริม พัฒนาครูผู้สอนให้เป็นแบบอย่างที่ดีต่อผู้เรียนและมีความสามารถในการใช้ภาษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อจุดประกายการเรียนภาษาของนักเรียนนักศึกษาเพื่อที่จะได้ไปเป็นประชากรที่มีคุณภาพของประเทศ ประชาคมอาเซียนและประชาคมโลกต่อไปอย่างยั่งยืน