International Conference: Reading Literacy for Quality Education,1-2 October 2009
งานประชุมนานาชาติ การรู้เรื่องการอ่านเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา
This is merely a summary from the speakers and what we all learned from the conference on Reading Literacy and Quality Education. I have to admit that we are, not only in Thailand but many others from around the world, encountering reading illiteracy and the poor quality of education. Therefore, we all in this academic world should seriously bring the issue to light and put it on the top list as a priority. It's only that if our children can't read now, they won't be able to read when they grow up; if our children can't read now, they will become blind from the global knowledge; and if our children can't read now, their quality of life will become doomed. And most importantly, if WE, as teachers and educators, don't do anything now, I just can't imagine what it would be!!!!
The summary in English is on the way!
For more information, go to: http://www.thailandreading.com/
1. สรุปเนื้อหาที่ได้จากการอบรม
การประชุมจัดขึ้นโดยสมาคมการอ่านแห่งประเทศไทย (Thailand Reading Association) สมาคมการอ่านระดับประเทศ (International Reading Association) และสมาคมการอ่านทางตอนเหนือแห่งประเทศไทย (Northern Thailand Reading Association) โดยสาระสำคัญของการจัดงานเพื่อการแลกเปลี่ยนการศึกษาค้นคว้า และข้อมูลในเรื่องของการอ่านของนักเรียน นักศึกษาทั้งในประเทศไทย และระดับนานาชาติ โดยการประชุมในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมเสนอผลงานและเข้าร่วมประชุมจากหลายๆ ประเทศ อาทิเช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ฟิลิปปินส์ มาเลเชีย ญี่ปุ่น เวียดนาม พม่า ลาว และประเทศไทย ในวันแรกเน้นเรื่องการเสนอผลงานวิจัย โดยมีผลงานวิจัยและบทความวิชาการในเรื่องของการอ่าน ที่สำคัญ 8 เรื่อง และในวันที่สองเป็นในส่วนของการระดมความคิดในการหาวิธีที่จะส่งเสริมการรักการอ่าน เนื้อหาสรุปของวันแรกและวันที่สองจากวิทยากรที่แลกเปลี่ยนความรู้มีดังนี้คือ
1. Professor Dr. Patricia A. Edwards, Professor of Language and
Literacy at Michigan State University International Reading Association, President-Elect 2009-2010 หัวข้อ “Reading Quality for Quality Education”
2. รองศาสตราจารย์วิทยากร เชียงกูล คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต หัวข้อ “Gateway to Reading Quality in Thai Society”
3. Professor Dr. Kriengsak Chareonwongsak President of the Institute of
Future Studies for Development (IFD) หัวข้อ “Reading for Developing Quality of Life”
4. ศาสตราจารย์ ดร.ชุติมา สัจจานันท์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชนะใจ เดชวิทยาพร
ดร.อมรา ปฐภิญโญบูรณ์ อาจารย์ศุภมาศ ณ ถลาง ผู้ดำเนินรายการ : คุณวัฒนชัย วินิจจะกูล, TK Park หัวข้อ Reading Research Report: “The Study of Thailand’s Reading Promotion Policy: Comparative Study between Thailand’s Policy and Foreign Countries Policies.”
5. Brian E. Smith, School of Global Japanese Studies at Meiji University in Tokyo, Japan หัวข้อ “Improving Discussion Strategies within a Reading Classroom”
6. Dr. Thadthong Bhrammanee, Phetchaburi Rajabhat University หัวข้อ “A Convergence between Reading Literacy and Semantic Web Technology”
7. Kanya Wuttikietapaiboon, Sam Houston State University หัวข้อ “Strategies for Reading Comprehension of Online Texts”
8. Dusadee Rangseechatchawan, Sam Houston State University หัวข้อ “Ah! This book has no word”
9. Professor Dr. Debra P. Price, Professor Dr. Mary E. Robbinsม Associate , Professor Leonard G. Breen, Department of Language, Literacy & Special Population, Sam Houston State University หัวข้อ “Comprehensive Reading Instruction” (ได้เสนอผลงานในวันที่สองของการจัดงาน)
จากการบรรยายของผู้บรรยายในแต่ละท่านนั้น สาระสำคัญที่ผู้บรรยายได้นำเสนอแบ่งได้ออกเป็น 3 ส่วน
1. ปัญหาของการการอ่านของนักเรียน นักศึกษา
คนไทยเฉลี่ยทั้งประเทศอ่านหนังสือน้อยกว่าฮ่องกง และสิงคโปร์ 7-8 เท่า น้อยกว่าเกาหลีใต้ 4 เท่า (สถิติการใช้กระดาษพิมพ์และเขียน ของยูเนสโก 2540) จำนวนหนังสือใหม่ที่พิมพ์ในรอบปีของไทยน้อยกว่าอังกฤษ (ประเทศที่มีประชากรน้อยกว่าไทยเล็กน้อย) ราว 10 เท่า เด็กอายุ 10- 14 ปี กว่า 60% ให้เหตุผลในการไม่อ่านหนังสือว่า ไม่ชอบอ่านและไม่สนใจที่จะอ่าน เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน อย่างสิงคโปร์และเกาหลี ที่มีสถิติการอ่านหนังสือของเด็กต่อคนปีละ 40 เล่ม ส่วนเวียดนาม มีสถิติการอ่านหนังสือปีละ 60 เล่มต่อคน ขณะที่เด็กไทยมีสถิติการอ่านหนังสือเพียงปีละ 2 เล่มต่อคน ซึ่งตรงนี้ไม่นับหนังสือเรียนแต่เป็นหนังสือที่อ่านตามความสนใจของเด็กแต่ละคนใน 365 วัน เด็กไทยอ่านหนังสือเพียง 2 เล่ม นับว่าการอ่านหนังสือของคนไทยมีน้อยมาก
2. การอ่านกับการเรียนการสอน
ปัญหาคือการมีทรรศนะเรื่องการศึกษาแบบล้าสมัย คือมองว่าเป็นการสอนแบบอัดความรู้ให้กับผู้เรียน ไม่ได้เข้าใจว่าการศึกษาคือเรื่องการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ ค้นคว้า วิจัย สร้างความรู้ใหม่ หรืออย่างน้อยรู้วิธีที่จะไปเรียนรู้ต่อได้
พวกนักบริหารการศึกษาไทยยังมองการศึกษาแบบแยกส่วน เช่น เน้นการของบประมาณเพิ่มขึ้น เน้นการแก้ไขปัญหาระบบบริหาร การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน การวัดมาตรฐานการศึกษา ฯลฯ ในระบบโรงเรียนและมหาวิทยาลัยให้ดูมีรูปแบบที่ทันสมัย มากกว่าที่จะเน้นเนื้อหาสาระว่า จะปฏิรูปความคิด ทัศนคติ สติปัญญา ครูอาจารย์ยังสอนแบบบรรยายให้ผู้เรียนจำไปสอบ ไม่ได้กระตุ้นเด็กและเยาวชนให้สนใจที่จะรักการอ่าน คิดวิเคราะห์ และการศึกษาหาความรู้ด้วยตัวเอง ปัญหาหลักคือ เมื่อครู อาจารย์เองส่วนใหญ่ได้รับการศึกษาแบบเก่า คือท่องจำสอบผ่านมาได้ โดยไม่ใช่คนที่ใฝ่รู้ทางวิชาการ ไม่รักการอ่าน ไม่ชอบคิดวิเคราะห์ ดังนั้นก็จะส่งผลต่อนิสัยการรักการอ่าน และประสิทธิภาพของการอ่านของพวกเขา (อ้างอิงจาก รศ.วิทยากร เชียงกูล)
3. วิธีการแก้ไขปัญหา
• รศ.วิทยากร เชียงกูล ได้เสนอแนวคิดในเรื่องการปลูกฝังการรักการอ่าน และเพื่อนักเรียน นักศึกษาสามารถอ่านหนังสือได้อย่างคล่องแคล่ว รวมถึงความสำเร็จของการจะปฏิรูปการศึกษาจะสำเร็จได้ ก่อนอื่นต้องหาวิธีผลิตครูและเปลี่ยนครูอาจารย์ที่มีอยู่ให้เป็นคนที่รักการอ่าน ใฝ่การเรียนรู้ให้ได้ก่อน พวกเขาจึงจะชักจูงให้นักเรียนนักศึกษารักการอ่าน การค้นคว้าซึ่งคือการเรียนรู้ที่แท้จริงได้ การเพาะนิสัยรักการอ่าน ใฝ่การเรียนรู้ การคิดวิเคราะห์ต่อ เป็นปัจจัยที่สำคัญที่จะทำให้คนเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และจะนำไปสู่การเผยแพร่และสร้างภูมิปัญญาใหม่ที่จะสามารถหาทางแก้ไขวิกฤตของชาติได้ นอกจากนี้ต้องฝึกให้พวกเขารักการอ่านการเรียนรู้มาตั้งแต่ต้น เริ่มจากนิทาน การ์ตูน และค่อย ๆ ชี้นำชักจูงให้เขายกระดับการอ่านวรรณกรรมที่มีเนื้อหาสาระที่ดีๆ เพิ่มขึ้นตามลำดับ เมื่อเขาใช้คอมพิวเตอร์เป็น เขาจะได้มีนิสัยที่จะรักการอ่าน และใช้อินเตอร์เน็ทได้อย่างมีสาระประโยชน์เพิ่มขึ้น
• ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญศักดิ์ ได้เสนอแนวทาง ที่เป็นประโยชน์ไว้ 6 ข้อ เพื่อที่จะเพิ่มพูลการอ่านให้มีคุณภาพมากขึ้น นอกเหนือจากการที่ปลูกฝังให้นักเรียนรักการอ่าน เพราะการอ่านที่มีคุณภาพจะส่งผลถึงการใช้ชีวิตที่มีประสิทธิภาพ และยังเป็นการส่งเสริมการอ่านแบบยั่งยืนอีกด้วย
- Create habits of reading,
- Teach techniques of reading—slow reading,
- Create context that is conducive in the global activities,
- Create indicators for different jargon in different fields,
- Core courses in universities of English should be the frontier of knowledge from what who have learned, and
- The need to learn other languages to get the body of knowledge.
• ศาสตราจารย์ ดร. Patricia A. Edwards จาก Michigan State University ได้เสนอแนวทางในการส่งเสริมคุณภาพการอ่านและการศึกษาไว้ว่าควรจะเป็นความร่วมมือระหว่าง ผู้ปกครอง ผู้เรียน และ โรงเรียน ซึ่งหมายถึงตัวผู้สอนและสถานศึกษา โดยนิสัยการรักการอ่าน และความสามารถในการอ่านของเด็กๆ ส่วนหนึ่งก็เป็นหน้าที่ของผู้ปกครอง ที่จะช่วยกันกับครูผู้สอน ให้เด็กๆ หรือผู้เรียนมีความคล่องแคล่วในการอ่าน เพราะถ้าผู้อ่านยังไม่มีทักษะการอ่านที่ดีในระดับการศึกษาชั้นต้นๆ แล้ว ก็จะยิ่งส่งผลกระทบต่อไปเมื่อต้องเรียนในระดับที่สูงขึ้น และจะส่งผลต่อทุกวิชาที่เขาเรียน
• ส่วนผู้บรรยายท่านอื่นๆ ก็ได้เสนอแนะวิธีการสอน สื่อการสอนในรูปของสื่ออิเล็กทรอนิค เพื่อนำมาใช้กับการปลูกฝังการรักการอ่าน และคุณภาพการอ่าน และช่วยให้การเรียนการสอนโดยเฉพาะอย่างยิ่งการอ่านนั้นน่าสนใจ และเหมาะสมกับผู้เรียนมากขึ้น ตัวผู้สอนเองนั้นมีส่วนสำคัญที่จะเสริมสร้างการรักการอ่าน คุณภาพการอ่าน โดยการหาวิธีที่จะกระตุ้นให้ผู้อ่านมีความสนใจที่อยากจะอ่านมากขึ้น ซึ่งทั้งนี้ก็ต้องหาสื่อ หรือหนังสือให้อ่านที่เหมาะกับผู้อ่าน และการอ่านควรเป็นแบบการอ่านเพื่อความเพลิดเพลิน ไม่ใช่อ่านแบบเรียนเพื่อสอบ
• นอกจากนี้ทางห้องสมุดประชาชน และห้องสมุดโรงเรียนยังได้เสนอแนะวิธีที่เป็นประโยชน์ โดยการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อรณรงค์การรักการอ่าน เช่น โครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน กระทรวงศึกษาธิการประจำปีงบประมาณ 2549 ตามวัตถุประสงค์หลักการดำเนินงาน 3 ประการคือ
- มุ่งสร้างพื้นฐานค่านิยมที่ดีต่อการอ่านสู่เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป
- มุ่งพัฒนาห้องสมุดสถานศึกษา/ห้องสมุดประชาชนหรือแหล่งการเรียนรู้ สนองความต้องการของกลุ่มผู้อ่านในพื้นที่
- มุ่งเผยแพร่วิสัยทัศน์จากการอ่านพระราชนิพนธ์อันทรงคุณค่าใน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และประชาสัมพันธ์โครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน
2. ประโยชน์ที่ได้รับและการนำไปประยุกต์ใช้
จากการที่ได้เข้าร่วมการประชุมดิฉันได้ทราบวิธี ข้อมูล และทัศนะคติที่ดีๆ ที่จะช่วยกันส่งเสริมการรักการอ่านและการอ่านอย่างมีคุณภาพในฐานะอาจารย์ผู้สอน คือ ได้ตระหนักว่าควรจะทำอย่างไรเราจึงจะส่งเสริมให้คนไทยทั้งประเทศใฝ่รู้ใฝ่เห็นและรักการอ่านเพิ่มขึ้น จากคำแนะนำของรศ.วิทยากร เชียงกูลที่เห็นได้ชัดคือ
• การเรียนรู้จะต้องอาศัยการรู้จักฟัง การอ่าน คิดวิเคราะห์ การซักถาม โต้แย้ง สังเคราะห์ วิจัย ค้นคว้าอย่างวิพากษ์วิจารณ์ เป็นตัวของตัวเอง ไม่ใช่การท่องจำตามที่อาจารย์หรือตำราบอก
• ควรเปลี่ยนวิธีการสอนภาษาและวรรณกรรมตั้งแต่ชั้นเด็กเล็กให้เกิดความสนุก น่าสนใจ ส่งเสริมจินตนาการ การคิดตีความอย่างหลากหลาย เพราะความรู้ทางภาษาเป็นพื้นฐานสำคัญในการจะเรียนรู้วิชาอื่นๆ (เด็กในโรงเรียนไทยที่จะเก่งวิชาอื่นหรือแม้ภาษาอังกฤษได้มักจะต้องเก่งภาษาไทยมาก่อน)
• การจะปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้แบบใหม่ให้นักเรียนรู้จักรักการอ่าน การใฝ่ใจเรียนรู้ด้วยตนเองในหมู่เด็ก เยาวชน และผู้ใหญ่ไทย เป็นเรื่องจะทำได้โดยไม่ต้องใช้งบฯมากมายอะไร แต่ต้องใช้ความฉลาดและความตั้งใจสูง จะต้องกล้าเปลี่ยนแปลงปฏิรูปหลักสูตร วิธีการสอน วิธีการวัดผล การสอบคัดเลือกใหม่หมด จากที่เน้นการท่องจำต้องเน้นที่การอ่านเป็น คิดเป็น พูดเป็น เขียนเป็น หากนักการศึกษา ครูอาจารย์จะไปศึกษาแนวทางการจัดการเรียนการสอนจากโรงเรียนนานาชาติดีๆ ที่สอนให้เด็กหัดคิด ค้นคว้าโต้แย้งอาจารย์อย่างมีเหตุผลมีข้อมูลได้ก็จะเป็นประโยชน์ยิ่ง
ดังนั้นในฐานะอาจารย์ผู้สอนภาษาอังกฤษคนหนึ่ง ดิฉันเห็นว่าผู้สอนเป็นปัจจัยที่สำคัญในการกระตุ้นและผลักดันให้นักเรียน นักศึกษามีนิสัยการรักการอ่านและส่งผลต่อการอ่านอย่างมีประสิทธิภาพ สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้สอนมีจิตใจรักในอาชีพการสอน มีจิตใจการรักการอ่าน และพยายามที่จะพัฒนาตัวเองในเรื่องการเรียน การสอนอยู่อย่างต่อเนื่อง ไม่เช่นนั้นแล้วผู้เรียนจะเป็นคนที่ได้รับผลกระทบตรงๆ จากผู้สอน
3. ข้อเสนอแนะ
ควรจัดให้มีนโยบายการรักการอ่านในสถานศึกษาอย่างจริงจัง จัดให้มีกิจกรรมอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยผู้รับผิดชอบในด้านห้องสมุดเองก็ควรจะมีกลวิธีดึงดูดผู้เรียนให้สนใจการอ่านหนังสือมากยิ่งขึ้น
Tuesday, October 13, 2009
International Conference: Reading Literacy for Quality Education
Labels:
activity at SPU
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
1 comment:
ผมขออนุญาตเจ้าของบล็อกประชาสัมพันธ์เรื่องการบริจากโลหิตหน่อยนะครับ คือผมเพิ่งไปบริจากมาเลยทำให้ได้ความรู้มาอยางนึง ซึ่งคิดว่าเป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่ก็คงจะไม่รู้เช่นกัน ทราบหรือเปล่าครับว่าคนเราที่จริงแล้วมีเลือดส่วนเกินที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ คือปกติร่างกายเราต้องการเพียง 15-16 แก้ว แต่เรามีมากถึง 17-18 แก้ว นั่นก็คือมีเลือดส่วนเกินที่ไม่ได้ใช้ครับ แล้วส่วนเกินนี้ปกติมันจะไปที่ไหนครับ ก็ถูกขับทิ้งออกมาทางปัสวะนั่นเอง ดังนั้นอย่าให้มันเสียเปล่าเลยครับ ไปบริจากให้คนที่เค้าต้องการดีกว่า ขอขอบคุณท่านเจ้าของบล็อกมากครับ การช่วยเผยแพร่ข้อมูลก็ถือเป็นบุญกุศลอย่างมากเลยครับ
Post a Comment