สรุปเนื้อหาการเข้าร่วมอบรม/สัมมนา CULI’s 7th International Conference 2010 Pathway in EIL: Explorations and Innovations in Teaching and Research (ตอนที่ 1)
เนื้อหาสาระที่สำคัญส่วนใหญ่ของการประชุมและ workshop ในครั้งนี้เน้นอนาคตของการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในทวีปอาเซียนที่ภาษาอังกฤษไม่ใช่ภาษาแรก โดย keynote speakers และผู้นำเสนอผลงานการวิจัยหลายๆ ท่านทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติได้กล่าวว่าภาษาอังกฤษจะเป็นภาษาของ ASEAN แต่ก็ยังมีประเด็นของปัญหาที่ต้องแก้ไข ที่เกิดขึ้นกับการเรียนการสอนและประสิทธิภาพของการติดต่อสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียน นักศึกษา โดยเนื้อหาที่สำคัญสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเด็นคือ
1. การเรียนการสอนภาษาอังกฤษ
2. ผู้สอนภาษาอังกฤษ
การเรียนการสอนภาษาอังกฤษ
Prof.Dr. Jun Lui จาก University of Arizona, USA. ได้ยกตัวอย่างการเรียนการสอนในประเทศจีน ซึ่งการเรียนการสอนที่นั่นค่อนข้างจะเข้มข้น สิ่งที่เขาเน้นคือสนับสนุนให้อาจารย์จีนสอนภาษาจีนยังต่างประเทศเพื่อเป็นการเพิ่ม connection นอกจากนี้การสอนภาษาอังกฤษนั้นสิ่งที่สำคัญคือการไม่สูญเสีย identity ของตัวเอง นั่นคือการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในประเทศที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่นั้น ควรที่จะเรียนภาษาแม่ของตัวเองให้ได้ดีก่อน เพื่อที่จะได้ใช้ช่วยในการเรียนภาษาอังกฤษให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ดังนั้นการเรียนการสอนใจภูมิภาคนี้ควรที่จะมีวิธี และรูปแบบ (model and approach) ใหม่ที่เหมาะสมกับผู้เรียนใน ASEAN และควรมีทักษะเสริม (Soft skills/ Life skills) ให้กับผู้เรียน เช่น การแก้ไขปัญหา การออกแบบ/ความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งก็เป็นความคิดและแนวทางเดียวกันกับ Prof.Dr. Any Kirkpatrick ที่เสนอและสนับสนุนแนวการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเป็นแบบ Lingual Franca คือภาษาอังกฤษที่ใช้ติดต่อสื่อสารกันในกลุ่มคนที่ไม่ได้พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่กันทั้งสองฝ่าย ดังนั้น ภาษาอังกฤษที่ใช้จึงมีความซับซ้อนน้อยกว่า แต่เน้นการใช้ประโยชน์ในการติดต่อสื่อสารและความเข้าใจเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการสื่อสารเป็นสำคัญ ดังนั้นหลักไวยากรณ์ และ expression ของภาษาอังกฤษที่เป็นแบบสากล หรือที่เข้าใจกันคืออังกฤษ-อังกฤษ และอเมริกัน-อังกฤษ จึงไม่ได้นำมาเป็นต้นแบบในการเรียน การสอน และการติดต่อสื่อสาร ดังนั้นการเรียนการสอนภาษาอังกฤษจะเน้น Global Englishes ภาษาอังกฤษที่หลากหลายและใช้พูดกันในหลายๆ ประเทศที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่
Prof.Dr.Arthur McNeill ได้ยกตัวอย่างการเรียนการสอนใน Hong Kong University of Science and Technology เขาได้สนับสนุนการเรียนโดยการใช้ “เวลา” เป็นตัวตั้งในการกำหนดการเรียนการสอนและสิ่งที่ต้องการให้นักศึกษาของเราได้เรียนรู้ ซึ่งก็หมายถึง Learning Outcome นอกจากนี้ก็คือการใช้ประสบการณ์การใช้ภาษาอังกฤษของผู้เรียน (autonomous learning) การใช้กิจกรรมเสริมพิเศษนอกห้องเรียนก็เป็นอีกอย่างที่ Prof.Dr.Arthur McNeill ได้นำมาใช้กับนักศึกษา โดยกิจกรรมเสริมนี้มีอยู่หลายรูปแบบที่จะสามารถดึงดูดความสนใจให้ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมและใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการติดต่อและมีปฎิสัมพันธ์ หรือสร้างความสนใจให้กับผู้เรียนเพิ่มมากขึ้น
การใช้ Technology (ICT) ในการเรียนการสอนเป็นที่ให้ความสนใจทั้งผู้บรรยายและผู้ฟังการบรรยายเพราะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ในหลายๆ ที่อาจารย์สอนภาษาอังกฤษในหลายๆ ที่ได้ใช้ ICT ในการเรียนการสอนส่วนมากในชั้นเรียน ทั้ง on-line exercise, online pre-class research และอื่นๆ โดยทั้งนี้ต้องเกิดจากการจัดรูปแบบ curriculum การสอนของอาจารย์ผู้สอน ดังนั้นผู้สอนจึงมีบทบาทที่สำคัญอย่างยิ่งในการเรียนการสอน ซึ่งวิทยากร และผู้เข้าร่วมการประชุมได้แสดงความคิดเห็น และแนะนำเกี่ยวกับผู้สอนภาษาอังกฤษในโลกการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในภูมิภาคอาเซียน
Tuesday, December 7, 2010
Subscribe to:
Posts (Atom)