Thursday, June 16, 2011

ASAIHL Conference 2011 Nov. 10-12, 2011 Bkk, Thailand

ASAIHL Conference 2011
November 10-12, 2011

• Conference Venue: Sripatum University, Bangkok, Thailand
• Paper Submission Due: September 10, 2011
• Official Website: http://asaihl2011.spu.ac.th

• Theme: "ROLE OF HIGHER LEARNING INSTITUTIONS IN ENHANCING GLOBAL COMPETENCIES"
1. Vision of ASEAN 2015 and The Role of Higher Learning Institutions
2. International Quality Standards Accreditation through National Qualification
Framework to Enhance Global Competency
3. Internationalization of Higher Education
4. Socially Responsible Global Citizen

• Organized By: ASAIHL Secretariat
Sripatum University

For more information, please go to: http://asaihl2011.spu.ac.th/paper-submission.html

Saturday, May 14, 2011

Study: It's not teacher, but method that matters--Yahoo! News

By SETH BORENSTEIN, AP Science Writer Seth Borenstein, Ap Science Writer – Thu May 12, 3:42 pm ET
WASHINGTON – Who's better at teaching difficult physics to a class of more than 250 college students: the highly rated veteran professor using time-tested lecturing, or the inexperienced graduate students interacting with kids via devices that look like TV remotes? The answer could rattle ivy on college walls.

A study by a Nobel Prize-winning physicist, now a science adviser to President Barack Obama, suggests that how you teach is more important than who does the teaching.

He found that in nearly identical classes, Canadian college students learned a lot more from teaching assistants using interactive tools than they did from a veteran professor giving a traditional lecture. The students who had to engage interactively using the TV remote-like devices scored about twice as high on a test compared to those who heard the normal lecture, according to a study published Thursday in the journal Science.

The interactive method had almost no lecturing. It involved short, small-group discussions, in-class "clicker" quizzes, demonstrations and question-answer sessions. The teachers got real-time graphic feedback on what the students were learning and what they weren't getting.
For more detail, click the link below!
http://news.yahoo.com/s/ap/20110512/ap_on_sc/us_sci_teacher_or_tools

Monday, May 2, 2011

สรุปเนื้อหาจากการประชุมเชิงปฏิบัติการระดมความคิดเกี่ยวกับแนวทางการจัดหาครูชาวต่างชาติเพื่อการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ

การประชุมเชิงปฏิบัติการระดมความคิดเกี่ยวกับแนวทางการจัดหาครูชาวต่างชาติเพื่อการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ จัดโดยกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงศึกษาธิการ วันที่ 22 เมษายน 2554

สรุปเนื้อหาจากการประชุมเชิงปฏิบัติการ :
การประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อใช้ข้อมูลที่ได้จากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์ในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อประกอบการยกร่างยุทธศาสตร์การพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา โดยยุทธศาสตร์ดังกล่าวประกอบไปด้วยหลายโครงการ โดยโครงการที่จะนำเสนอเพื่อการยกร่างครั้งนี้นั้นคือ โครงการจัดหาครูเจ้าของภาษาเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในการเตรียมความพร้อมประเทศเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ทั้งนี้โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักที่สำคัญดังนี้คือ

วัตถุประสงค์1.เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในการจัดการศึกษาระดับต่างๆ และแก้ปัญหาขาดแคลนครู
2.เพื่อส่งเสริมการพัฒนาความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียน/นักศึกษาในสถานศึกษา
3.เพื่อส่งเสริมการพัฒนาความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษและเทคนิคการจัดการเรียนการสอนของครูสอนภาษาอังกฤษในสถานศึกษา
4.เพื่อส่งเสริมและพัฒนาความเข้มแข็งของสถานศึกษาและเครือข่ายการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในพื้นที่

เป้าหมายการพัฒนา (ภายในปี 2558)
1.นักเรียน/นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาทุกระดับมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้น
2.นักเรียนที่สำเร็จการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ตามจุดเน้นที่กำหนด
3.ครูภาษาอังกฤษในพื้นที่มีระดับความรู้ด้านภาษาอังกฤษและเทคนิคการจัดการเรียนการสอนดีขึ้น
4.โรงเรียนและศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ (ERIC) และศูนย์เครือข่าย ERIC Network สามารถจัดการเรียนการสอนและการพัฒนาครูภาษาอังกฤษตามภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
5.กระทรวงศึกษาธิการมีหน่วยงานดูแลรับผิดชอบการดำเนินงานจัดหาครูเจ้าของภาษาที่เป็นระบบ

โครงการนี้เมื่อผ่านการยกร่าง และได้รับอนุมัติงบประมาณที่มีกว่า 1,590,000,000 บาท (รวมงบกลางและงบประจำปี 2555-2558) แล้วจะได้มีการจัดโครงการอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการสรรหาครูต่างชาติเพื่อไปปฏิบัติงานในหน่วยงานที่จำเป็นต่อไป โดยหน่วยงานเป้าหมายที่จัดครูชาวต่างชาติเข้าปฏิบัติงานนั้นประกอบไปด้วย โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ได้รับอาจารย์ต่างชาติมากสุด) ศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนภาษอังกฤษ สถาบันภาษาอังกฤษ สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และสถาบันอุดมศึกษา

สิ่งที่ได้รับจากการเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ :
ในแต่ละหัวข้อจะมี panel ในการสนทนา โดย panel เป็นผู้มีความรู้และประสบการณ์ทางด้านการศึกษา การเรียนการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างชาติและภาษาที่สอง องค์กรระหว่างประเทศ (Peace Corp, Fulbright) สถานทูตจากต่างประเทศ อาทิเช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย โดยสาระสำคัญในแต่ละหัวข้อย่อยสามารถสรุปได้ดังนี้คือ

1.General Experiences of Teaching English Language in Thailand
-การสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทยที่จะทำให้นักเรียนและนักศึกษาไทยสามารติดต่อสื่อสารภาษาอังกฤษในระดับใช้งานได้และสามารถที่จะช่วยให้เกิดสัมฤทธิผลในการเรียนภาษาอังกฤษ โดยมีครูผู้สอนที่เป็นชาวต่างชาตินั้นค่อนข้างยาก เพราะเนื่องจากว่าปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นคือผู้เรียนไม่ค่อยเห็นความสำคัญของภาษาอังกฤษ ไม่ได้มีโอกาสได้ฝึกและใช้ภาษานอกห้องเรียน
-อาจารย์ผู้สอนมีภาระหน้าที่อื่นๆ นอกเหนือจากงานสอนจึงทำให้ไม่มีเวลาสอน และเตรียมตัวสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยในขณะเดียวกันผู้เรียนมีความคิดที่ว่าภาษาอังกฤษเป็นวิชาเรียนหนึ่งเหมือนกันกับวิชาอื่นๆ ที่ต้องเรียน แต่ไม่ได้ เล็งเห็นความสำคัญที่ว่าภาษาเป็นทักษะที่จำเป็นต่อการใช้งานในชีวิตประจำวันที่ควรจะฝึกฝนจนเกิดความชำนาญ
-ตัวแทนจาก International School Association ได้เล่าประสบการณ์การเรียนการสอนที่ประสบความสำเร็จคือ การเน้นให้นักเรียนที่เป็นคนไทยเข้าเรียนในโปรแกรม International ได้มีการเข้าใจและเรียนรู้ภาษาไทยไปพร้อมๆ กันกับภาษาอังกฤษ เพื่อที่ภาษาแม่คือภาษาไทยได้ช่วยในการเรียนและเข้าใจภาษาอังกฤษได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้การจัดให้มีการร่วมมือการสอน (Collaborative Teaching) ระหว่างครูสอนภาษาอังกฤษและครูสอนรายวิชาอื่นๆ ทำให้การเรียนการสอนมี ประสิทธิผลขึ้น
2.Appropriate English Teaching Modality, Methodology and Curriculum for Thailand
จากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ระหว่างผู้เข้าร่วมการประชุม ส่วนมากเห็นเหมือนกันดังนี้
-การสอนที่มีครูผู้สอนภาษาอังกฤษที่เป็นเจ้าของภาษาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาทักษะการสื่อสารนั้น จำเป็นที่จะต้องมีการวัดผลและประเมินผลที่สอดคล้องกัน เช่นถ้าเน้นการพูด การวัดผลประเมินผลก็ต้องออกแบบมาเพื่อวัดทักษะการพูด
-นอกจากนี้การสอนแบบ Collaborative teaching approach เป็นสิ่งที่สำคัญที่ควรให้ครูผู้สอนคนไทยและครูสอนชาวต่างชาติ ร่วมมือกันสอน (Co-teaching) แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน เพื่อที่ครูคนไทยได้เรียนรู้ พัฒนาทักษะการสอน และสามารถนำมาช่วยในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษให้ยั่งยืนยิ่งขึ้น
-ตัวแทนจากนิวซีแลนด์เสนอให้มีการจัด course for readiness for ASEAN community
3.Possible Target Groups to Provide English Teachers
ครูสอนภาษาอังกฤษที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย คือ นักศึกษาที่กำลังศึกษาทางด้านการสอน ที่สนใจมาฝึกงาน นักศึกษาจบใหม่ทางด้านการสอนและมี Teaching certificate ที่ต้องการหางานสอนต่างประเทศ ผู้สอนชาวต่างชาติที่เกษียณอายุแล้วและมีประสบการณ์การสอน โดยจะมีการคัดเลือกสถานศึกษาระดับต่างๆ ที่มีความต้องการครูผู้สอนมากที่สุด ในทุกภูมิภาคของประเทศ
4.Qualification Recruitment Process and the Management System
ในที่ประชุมส่วนใหญ่ให้ความเห็นตรงกันว่าควรมีระบบการจัดการให้รอบคอบเพื่อไม่ให้เกิดการสูญเปล่า โดยมีประเด็นที่น่าสนใจคือ
-ควรส่งเสริมและจัดให้มี Orientation ที่มีคุณภาพเพื่อสร้างความเข้าใจในระบบการเรียนการสอนของประเทศไทยให้กับครูผู้สอนชาวต่างชาติ ควรใช้ประโยชน์ครูผู้สอนที่มีประสบการณ์เหล่านั้นให้สูงสุดโดยการจัดการอบรมการสอนโดยครูชาวต่างชาติให้กับครูคนไทย เพื่อที่จะสร้างให้เกิดการเรียนการสอนอย่างยั่งยืน เพราะมีความเชื่อเหมือนกันที่ว่าไม่มีใครที่จะสามารถสอนภาษาอังกฤษซึ่งไม่ได้เป็นภาษาแม่ได้ดีที่สุดให้กับนักเรียน/นักศึกษาไทยได้ดีและเหมาะสมที่สุดได้เท่ากับผู้สอนที่เป็นคนไทย
-การส่งเสริมและจัดให้มีการพัฒนาศักยภาพครูผู้สอนภาษาอังกฤษ (Professional Development) เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด โดยทั้งนี้มีการจัดให้ครูผู้สอนที่มีทักษะการสอนที่ดีและความรู้ที่ดีช่วยอบรม สอนครูผู้สอนที่ยังต้องการการพัฒนาในด้านความรู้ทักษะการสื่อสารและทักษะอื่นๆ และที่สำคัญคือการส่งเสริม พัฒนาครูผู้สอนให้เป็นแบบอย่างที่ดีต่อผู้เรียนและมีความสามารถในการใช้ภาษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อจุดประกายการเรียนภาษาของนักเรียนนักศึกษาเพื่อที่จะได้ไปเป็นประชากรที่มีคุณภาพของประเทศ ประชาคมอาเซียนและประชาคมโลกต่อไปอย่างยั่งยืน

Sunday, January 30, 2011

International Conference organized by EIL (ภาค2)

ผู้สอนภาษาอังกฤษ
ประเด็นที่ได้ถูกกล่าวถึงเกี่ยวกับผู้สอนภาษาอังกฤษโดยเฉพาะอย่างยิ่งอาจารย์ผู้สอนภาษาอังกฤษในภูมิภาคอาเซียน มีอยู่ 3 ประเด็นคือ
1. คุณสมบัติของผู้สอน
2. การพัฒนาศักยภาพอาจารย์
3. การสนับสนุนการทำวิจัย



คุณสมบัติของผู้สอน
วิทยากรและ keynote speakers หลายท่านให้ความคิดเห็นว่าในการสอนภาษาอังกฤษของประเทศที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่นั้น ผู้สอนควรจะเป็นคนที่พูดหรือเรียนภาษาที่สองด้วย เพราะเขาจะรู้และเข้าใจการสอนภาษาได้ง่าย และลึกซึ้งมากกว่าผู้ที่พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ เพราะการสื่อสารส่วนใหญ่ในภูมิภาคนี้ต่อไปจะเกิดขึ้นระหว่างผู้ที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกันมากกว่า เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสาร
นอกจากนี้ผู้สอนควรมีความรู้ภาษาศาสตร์และการสอนควบคู่กันไปเพื่อที่จะได้ช่วยในการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และที่สำคัญคือการมีจิตสำนึกในการเป็นผู้สอน มีความคิดเป็นบวก ควบคุมอารมณ์ให้ได้ และคิดว่าผู้เรียนเปรียบเสมือนผู้ใหญ่คนหนึ่ง

การพัฒนาศักยภาพอาจารย์
ทั้ง Prof.Dr. Quifang Wen, Prof.Dr. Lui และท่านอื่นๆ ก็ได้สนับสนุนโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพอาจารย์ เพราะถือว่าสำคัญอย่างมากที่จะช่วยเพิ่มศักยภาพผู้สอนให้สามารถสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น ในประเทศจีน มหาวิทยาลัยและสถานศึกษาหลายๆ ที่ได้ส่งอาจารย์เข้าร่วมโครงการพัฒนาศักยภาพอาจารย์สอนภาษาอังกฤษ หลักสูตรเข้มข้น ถึงการเตรียมตัวสอน แผนการสอน และวิธีการสอน ซึ่งจัดโดยรัฐบาลให้อาจารย์ได้เข้าร่วมทุกๆ หน้าร้อน หรือแม้แต่การส่งเสริมให้อาจารย์ได้เข้าร่วมโครงการหรือสร้างเครือข่ายเพื่อแลกเปลี่ยนการสอนยังต่างประเทศ และมี community ให้กับอาจารย์ได้ retain ศักยภาพในการใช้ภาษาอังกฤษ

การสนับสนุนการทำวิจัย
Prof.Dr. Jun Lui ได้แนะนำบทความงานวิจัยเพื่อนำเสนอและตีพิมพ์ที่จะให้ได้ประสิทธิภาพและได้รับการตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ เพราะว่าปัจจุบันนี้ปัญหาใหญ่ของนักวิจัย อาจารย์ในภูมิภาคอาเซียนมีปัญหาในการส่งผลงานตีพิมพ์แล้วถูกปฎิเสธ เนื่องจากการความบกพร่องในส่วนของ ปัญหาการเขียน การวิเคราะห์และสังเคราะห์ Literature Review คำถามการวิจัย ความน่าสนใจและ update ในสิ่งที่เขียน สไตล์ที่เขียน ผู้เขียนยังแนะนำว่าเราควรที่จะเริ่มเขียนตั้งแต่เนิ่นๆ และหาเวลาเขียนอยู่บ่อยๆ เพราะไม่เช่นนั้น momentum จะขาดหาย ในการที่จะเขียนโดยมีองค์ประกอบคือ
• โดยการเขียนเริ่มจากสิ่งที่สนใจและสิ่งที่เรามีความรู้ดีและสามารถทำได้
• พิจารณาว่าหัวข้อที่จะเขียนเป็น research based หรือไม่
• พิจารณาว่าใครจะได้รับประโยชน์จากบทความบ้าง
• ต้องทราบว่าขั้นตอนการทำ และขั้นตอนการเสนองานเขียนต่อสำนักพิมพ์เพื่อรอการตีพิมพ์



2. องค์ความรู้ที่เพิ่มขึ้นจากการอบรม/สัมมนา
1) แนวโน้มการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในภูมิภาค ASEAN
2) ทักษะที่ควรส่งเสริมเพิ่มเติมในห้องเรียนนอกเหนือจากทักษะภาษาอังกฤษ
3) โปรแกรมการพัฒนาศักยภาพอาจารย์ผู้สอนภาษาอังกฤษ
4) เทคนิคการสอนในชั้นเรียน วิธีการใช้สื่อการสอน ICT มาใช้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นในการเรียน การสอน
5) การทำงานวิจัยและการเขียนบทความเพื่อตีพิมพ์

3. การนำความรู้ที่ได้จากการอบรม/สัมมนามาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน
1) สอดแทรกทักษะชีวิต (Life Skills) ในการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะด้านอื่นๆ ที่สำคัญต่อการเรียนรู้และส่งเสริมการเรียนภาษาอังกฤษ
2) พัฒนาการใช้เทคนิคการสอนของตัวเองและใช้ ICT ในการสอดแทรกเพื่อเป็นตัวช่วยในการเรียนการสอนในชั้นเรียน
3) พัฒนาและนำวิธีการสอนใหม่ๆ และทัศนคติใหม่ๆ ในการสอน จากผู้นำเสนอผลงานในการสอนภาษาอังกฤษมาใช้ในการเรียนการสอน

4. ข้อคิดเห็นจากการอบรม/สัมมนาที่เป็นประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัย
1)ควรจะจัดให้มีฝ่ายที่พัฒนาการเรียนการสอนและภาษาให้กับอาจารย์ผู้สอนภาษาทั้งในและนอกหน่อยงานในศูนย์ภาษาของมหาวิทยาลัย
2) ควรจะจัดให้มีฝ่ายที่จัดกิจกรรมพิเศษโดยเฉพาะให้กับนักศึกษาทั้งมหาวิทยาลัยที่สนใจ เพื่อได้ให้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ซึ่งจะก่อให้เกิดความสนใจ สนุก กับการเรียนรู้นอกห้องเรียน
3) จัดอบรมและเตรียมความพร้อมให้กับอาจารย์ที่สอนภาษาอังกฤษในเรื่องของความสามารถ retain ศักยภาพใช้ภาษาอังกฤษ พัฒนาความรู้ทางด้านภาษศาสตร์ พัฒนาความรู้ทางด้านการสอน วิธีการสอน เพื่อให้อาจารย์ตามทันกับการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันกับความต้องการของตลาดต่อการรับบัณฑิตใหม่เข้าทำงาน

Tuesday, December 7, 2010

สรุปเนื้อหาการเข้าร่วมอบรม/สัมมนา CULI’s 7th International Conference 2010 Pathway in EIL: Explorations and Innovations in Teaching and Research (ตอนที่ 1)

เนื้อหาสาระที่สำคัญส่วนใหญ่ของการประชุมและ workshop ในครั้งนี้เน้นอนาคตของการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในทวีปอาเซียนที่ภาษาอังกฤษไม่ใช่ภาษาแรก โดย keynote speakers และผู้นำเสนอผลงานการวิจัยหลายๆ ท่านทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติได้กล่าวว่าภาษาอังกฤษจะเป็นภาษาของ ASEAN แต่ก็ยังมีประเด็นของปัญหาที่ต้องแก้ไข ที่เกิดขึ้นกับการเรียนการสอนและประสิทธิภาพของการติดต่อสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียน นักศึกษา โดยเนื้อหาที่สำคัญสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเด็นคือ
1. การเรียนการสอนภาษาอังกฤษ
2. ผู้สอนภาษาอังกฤษ

การเรียนการสอนภาษาอังกฤษ
Prof.Dr. Jun Lui จาก University of Arizona, USA. ได้ยกตัวอย่างการเรียนการสอนในประเทศจีน ซึ่งการเรียนการสอนที่นั่นค่อนข้างจะเข้มข้น สิ่งที่เขาเน้นคือสนับสนุนให้อาจารย์จีนสอนภาษาจีนยังต่างประเทศเพื่อเป็นการเพิ่ม connection นอกจากนี้การสอนภาษาอังกฤษนั้นสิ่งที่สำคัญคือการไม่สูญเสีย identity ของตัวเอง นั่นคือการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในประเทศที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่นั้น ควรที่จะเรียนภาษาแม่ของตัวเองให้ได้ดีก่อน เพื่อที่จะได้ใช้ช่วยในการเรียนภาษาอังกฤษให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ดังนั้นการเรียนการสอนใจภูมิภาคนี้ควรที่จะมีวิธี และรูปแบบ (model and approach) ใหม่ที่เหมาะสมกับผู้เรียนใน ASEAN และควรมีทักษะเสริม (Soft skills/ Life skills) ให้กับผู้เรียน เช่น การแก้ไขปัญหา การออกแบบ/ความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งก็เป็นความคิดและแนวทางเดียวกันกับ Prof.Dr. Any Kirkpatrick ที่เสนอและสนับสนุนแนวการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเป็นแบบ Lingual Franca คือภาษาอังกฤษที่ใช้ติดต่อสื่อสารกันในกลุ่มคนที่ไม่ได้พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่กันทั้งสองฝ่าย ดังนั้น ภาษาอังกฤษที่ใช้จึงมีความซับซ้อนน้อยกว่า แต่เน้นการใช้ประโยชน์ในการติดต่อสื่อสารและความเข้าใจเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการสื่อสารเป็นสำคัญ ดังนั้นหลักไวยากรณ์ และ expression ของภาษาอังกฤษที่เป็นแบบสากล หรือที่เข้าใจกันคืออังกฤษ-อังกฤษ และอเมริกัน-อังกฤษ จึงไม่ได้นำมาเป็นต้นแบบในการเรียน การสอน และการติดต่อสื่อสาร ดังนั้นการเรียนการสอนภาษาอังกฤษจะเน้น Global Englishes ภาษาอังกฤษที่หลากหลายและใช้พูดกันในหลายๆ ประเทศที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่

Prof.Dr.Arthur McNeill ได้ยกตัวอย่างการเรียนการสอนใน Hong Kong University of Science and Technology เขาได้สนับสนุนการเรียนโดยการใช้ “เวลา” เป็นตัวตั้งในการกำหนดการเรียนการสอนและสิ่งที่ต้องการให้นักศึกษาของเราได้เรียนรู้ ซึ่งก็หมายถึง Learning Outcome นอกจากนี้ก็คือการใช้ประสบการณ์การใช้ภาษาอังกฤษของผู้เรียน (autonomous learning) การใช้กิจกรรมเสริมพิเศษนอกห้องเรียนก็เป็นอีกอย่างที่ Prof.Dr.Arthur McNeill ได้นำมาใช้กับนักศึกษา โดยกิจกรรมเสริมนี้มีอยู่หลายรูปแบบที่จะสามารถดึงดูดความสนใจให้ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมและใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการติดต่อและมีปฎิสัมพันธ์ หรือสร้างความสนใจให้กับผู้เรียนเพิ่มมากขึ้น

การใช้ Technology (ICT) ในการเรียนการสอนเป็นที่ให้ความสนใจทั้งผู้บรรยายและผู้ฟังการบรรยายเพราะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ในหลายๆ ที่อาจารย์สอนภาษาอังกฤษในหลายๆ ที่ได้ใช้ ICT ในการเรียนการสอนส่วนมากในชั้นเรียน ทั้ง on-line exercise, online pre-class research และอื่นๆ โดยทั้งนี้ต้องเกิดจากการจัดรูปแบบ curriculum การสอนของอาจารย์ผู้สอน ดังนั้นผู้สอนจึงมีบทบาทที่สำคัญอย่างยิ่งในการเรียนการสอน ซึ่งวิทยากร และผู้เข้าร่วมการประชุมได้แสดงความคิดเห็น และแนะนำเกี่ยวกับผู้สอนภาษาอังกฤษในโลกการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในภูมิภาคอาเซียน

Wednesday, September 8, 2010

Why waterfalls are beautiful?



ข้อคิดประจำวัน จากธรรมะสวัสดี / ภาพจากการท่องเที่ยว รู้ไหม... ? ทำไมน้ำตกถึงสวย...
Good thought from Dhamma Sawasdee....Why waterfalls are beautiful?

พ่อ : รู้มั้ยลูก...ทำไมน้ำตกถึงสวย...
Dad: Son, do you know why waterfalls are beuatiful?
ลูก : ก็เพราะมันเป็นน้ำตกไงคะพ่อ...
Son: Because it's waterfalls, Dad...it falls!
พ่อ : ไม่ใช่หรอกลูก...
… ที่น้ำตกสวยน่ะ... … เพราะน้ำตกไม่ยอมเก็บน้ำไว้ในชั้นของตัวเองต่างหาก...
Dad: Not true Son...
ลูก : หมายความว่าไงครับพ่อ...
Son: What do you mean Dad?
พ่อ : ลูกสังเกตไหมล่ะว่า..เวลาน้ำตกตกลงมาจากชั้นหนึ่งแล้ว...น้ำนั้นก็จะถูกส่งต่อลงไปอีกชั้นหนึ่งทันที...เพราะวิธีนี้ที่
น้ำตก...ไม่เห็นแก่ตัว..แต่ยอมส่งน้ำที่ตกมาจากชั้นอื่น..แล้วส่งต่อกันไปเรื่อย ๆ อย่างนี้… น้ำตก..ถึงสวย...และ
น้ำตก..จึงยัง คงเป็นน้ำตก...ที่มีเสน่ห์..ไงละ
Dad:Son, do you notice that when the water is falling...it's falling from one level to another immediately...for this reason, it's not selfish...but send the water from one level to others continuously...that's why waterfalls are beautiful and charming always!!!

ข้อคิดจากเรื่อง นี้...อย่าลืมน่ะลูก...ถ้าลูกอยากให้ตัวเองเป็นคนที่น่ารัก...ลูกควรจะเป็นอย่างน้ำตก..หากมีสิ่งดี ๆ ตกมาถึงตัวลูก...อย่าเก็บสิ่งดี ๆ นั้นไว้..คนเดียว..ลูกต้องเรียนรู้ที่จะ...แบ่งปัน...ออกไปให้มากที่สุด มีก็แต่คนที่ "ให้" ออกไปเท่านั้นแหละ...ลูก..จึงจะเป็นคนที่ "ได้รับ" อย่างแท้จริง..จากธรรมะ สวัสดี

Dad: Good thought from the waterfall story, Son...Don't forget...if you want to be pretty or handsome, you should be just like a waterfall. If you have received good things in life, do not just keep it for yourself. You need to learn to share...the most of it. Only will those people who love to "GIVE," "RECEIVE" good deeds...from Dhamma Sawasdee

ดั่งที่ได้อ่านกันมาแล้วข้างบนเมื่อคุณได้รับสิ่งดี ๆ แล้วก็อย่าเก็บไว้คนเดียวนะ แบ่งปันสิ่งที่ดีและสวยงามให้คนที่คุณรักและรู้จักนะ แล้วจะได้ความรัก สิ่งที่ดี ๆ นั้นกลับมาตอบแทน สาธุ

From the read, when you receive good things, do not keep them to yourself. Sharing those good things and beauty to your loved ones and those whom you know and care...then, you will receive good things in return.

On a personal note, I understand that some people who have experience heartaches from intimate relationship may not think the same. However, I do believe that only true love lasts. True love, to me, consists of patience, forgiveness, sharing and understanding. Love or without it in return...it's out of our control, but TIME heals and ease almost everything!

Sunday, July 25, 2010

Let Go of Suffering!

First and foremost, Happy Buddhist Day :-)

I just could not help but anxiously reached my office in the Sunday morning while perhaps most people are yet in bed to share some great thoughts from the reading I did this morning on the bus! On my untypical means of transport to work from home (as my car has decided to stop running and taken a little break from its owner who has been working 24/7, I, as that owner, had the chance to take the bus to work again in almost 5 years) I had this great book with me to read thinking to kill some time upon my journey. By the way "killing time is quite an insult to use with this book" I have to admit.

With my unrested mind of thinking about things in the past and worrying about things in the future that have not yet arrived, I have come to the present moment and now...the now with happiness and the now with hope!

This book is called Mind Management by V. Vajiramedhi, a well-known buddhist monk. This book is actually written in English. One of many teachings and thoughts I have read so far is about how to LET GO of SUFFERING. "sabbe dhamma nalam abhinivesaya' is a mantra to recite to keep reminding oneself to let go of suffering. It means "One should not cling to things." With no attachement and no clinging no suffering entails. It is like having a pair of shoes. When you lose them, you feel so much distress because you think they "belong to you" and they are "yours" when in fact the shoes never think this. They never feel they have "an owner", so they do not suffer. It is you who takes this and that as yours and shows off ownership of this and that. When things are not as you desire, you feel distraught.

Buddhism teaches realism--how to view the world as it is, not as we want it to be. I believe if we all get what we always want, we will not be able to cherish the real sense of happiness and love!

Let start a life of blissful joy along these guidelines: "Ask not who in this life will give you what. Ask what and to whom you will give in this life." I truly love these guildlines and could not agree me. Happy Buddhist Day na kha :-)